ส่วนของสมาชิก

พระพุทธรูป เชียงแสน

พระพุทธรูป เชียงแสน

หน้าแรก » กรุพระ » พระพุทธรูป » พระพุทธรูป เชียงแสน
Written by: seksan fundungnoen Posted in กรุพระ
Share : แบ่งปันไปยัง facebook

พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนลังกาวงศ์

"พระพุทธรูปศิลปะสมัย เชียงแสน ลังกาวงศ์พุทธศตวรรษ ที่ 16-23 เป็นพระปางมารวิชัยนั่งสมาธิราบ ปรากฏสนิมเขียวขึ้นคลุมทั่วทั้งองค์ขานดหน้าตักองค์พระกว้างประมาณ 22 นิ้ว"

พุทธศาสนาเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิหลังการจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชโปรดฯให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อประมาณ 315 ปีก่อนคริสต์ศักราช หนังสือ มหาราชวงศ์ซึ่งบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการสืบราชวงค์ของกษัตริย์แห่งลังกา ระบุว่าพระเจ้าอโศก มหาราชทรงให้พระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระเลือกพระอรหันต์จำนวนหนึ่ง เพื่อส่งไปประกาศพระพุทธศาสนายังนานาประเทศ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ศาสนาพุทธศาสนาในครั้งนั้นมีทั้งหมด 9 สาย และ 1 ใน 9 สายนี้ก็มีดินแดนสุวรรณภูมิอยู่ด้วย ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าคือดินแดนที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า ไทย ลาว และเขมร พระอรหันต์ที่เดินทางมายังสุวรรณภูมิมีสองรูปคือ พระโสณะเถระกับพระอุตตระเถระ ดังที่ได้กล่าวมาครั้งหนึ่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม ตามบันทึกข้างต้นก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่า แท้จริงแล้วดินแดนสุวรรณภูมิตั้งอยู่ ณ ที่ใด หนังสือศาสนาวงค์เล่มหนึ่งที่แต่งเป็นภาษาบาลีเมื่อปี ค.ศ. 1862 โดยพระภิกษุชาวพม่านามว่าพระปัญญาสามี เชื่อว่าสุวรรณภูมิคือเมืองสะเทิมหรือสุธรรมวดีในประเทศพม่า แต่สมเด็จเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพแย้งในภาหลังว่าสุวรรณภูมิน่าจะอยู่ที่เมืองนครปฐม เนื่องจากค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานจำนวนมากที่มีลักษณะสืบเนื่องมาจากความนิยมในการสร้างสัญญาลักษณ์เป็นที่สักการะบูชาแทนองค์พระพุทธเจ้า ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณ 300 ปีก่อนศริสต์ศักราช อันเป็นเวลาเดียวกับการเข้ามาเผยแผ่ศาสนาพุทธในสุวรรณภูมิของพระโสภณะเถระกับพระอุตตระเถระนั่นเอง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าพุทธได้เข้าสู่ดินแดนในประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 300 ปีก่อนศริสต์ศักราชแล้ว

ส่วนรูปแบบการนับถือพุทธศาสนานั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพผู้บุกเบิกการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในประเทศไทย ทรงแบ่งลักษณะการนับถือศาสนาพุทธในดินแดนก่อนประเทศไทย ออกเป็น 4 ยุคดังนี้

ยุคที่ 1 ศาสนาพุทธนิกายแบบเถรวาท
ยุคที่ 2 ศาสนาพุทธนิกายแบบมหายาน
ยุคที่ 3 ศาสนาพุทธนิกายหินยานแบบพุกาม
ยุคที่ 4 ศาสนาพุทธนิกายหินยานแบบลังกาวงศ์

พระพุทธศาสนานิกายหินยานแบบลังกาวงศ์ เริ่มเข้าสู่ดินแดนประเทศไทยตั้งแต่ศริสต์ศตวรรษที่ 13 จนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่การบูรณะพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งแต่เดิมพบว่าเป็นเจดีย์แบบศรีวิชัยที่สร้างขึ้นเนื่องในนิกายมหายาน ต่อมาศิลาจารึกหลักที่ 1 ก็ได้ระบุ พ่อขุนรามคำแหงโปรดฯให้นิมนต์พระภิกษุจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สุโขทัย และส่งผลให้กรุงศรีอยุธยาอีกต่อหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เหตุที่ต้องบรรยายนิกายพุทธศาสนา เนื่องจากศิลปะการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับนิกายต่างๆ เหล่านั้นด้วย พระพุทธรูปศิลปะลังกาวงศ์องค์ในภาพเป็น พระปางมารวิชัยนั่งสมาธิราบ ปรากฏสนิมเขียวขึ้นคลุมทั่วทั้งองค์ขานดหน้าตักองค์พระกว้างประมาณ 22 นิ้ว ได้รับการยอมรับจากบุคคลในวงการให้เป็นองค์ที่มีงามพร้อมตามศิลปะสมัยเชียงแสนแบบลังกาวงศ์ครบถ้วนบริบูรณ์

ข้อมูลจากหนังสือ SPIRIT Art & Antique

ที่มา: www.aj-ram.com/view/พระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนลังกาวงศ์